Source: พระไตรปิฎกออนไลน์: พระไตรปิฎกออนไลน์-หน้าหลัก
พระไตรปิฎกออนไลน์-หน้าหลัก
รายการในหน้านี้
- วิธีใช้งานพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- โครงสร้างของสารบัญพระไตรปิฎก
- ที่มาของข้อมูล
- ข้อมูลพื้นฐานพระไตรปิฎก
- คุณค่าของพระไตรปิฎก
- พระไตรปิฎกคืออะไร
- ส่วนประกอบเนื้อหาในพระไตรปิฎก
- นวังคสัตถุศาสน์ พุทธพจน์มีองค์ประกอบ 9 อย่าง
- คำแนะนำการศึกษาพระไตรปิฎก
- รายละเอียดของพระไตรปิฎกคัมภีร์ต่างๆ
- สารบัญพระไตรปิฎก
วิธีใช้งานพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
การเลือกเล่มพระไตรปิฎกทำได้ 2 ทางนะครับ คือ
-
- ใช้เครื่องมือค้นหาข้อมูลที่ด้านบนของหน้า (เป็นบริการ custom search engine ของ google) เพื่อหาว่าเรื่องหรือคำที่ต้องการนั้นอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มใด และเมื่อเปิดพระไตรปิฎกเล่มนั้นขึ้นมาแล้ว ก็ค้นหาตำแหน่งของคำที่ต้องการในเล่มนั้นโดยใช้คำสั่งค้นหาในหน้าเว็บ (find in page) ของโปรแกรมที่ใช้ดูเว็บอีกทีนะครับ ซึ่งถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ Windows ก็กดปุ่ม [ctrl]+f หรือคลิกเมนูแล้วเลือก find… หรือ find in page ถ้าเป็น smart phone ก็เปิดเมนูคำสั่งของโปรแกรมแล้วหาคำสั่งพวก ค้นหาในหน้าเว็บ find หรือ find in page หรืออะไรทำนองนี้ดูนะครับ สำหรับอุปกรณ์อื่นก็ทำนองเดียวกันนะครับ
*** ตรงนี้มีข้อควรระวังเล็กน้อยนะครับ คือในพระไตรปิฎกนั้นใช้เลขไทยทั้งหมด ถ้าค้นด้วยเลขอารบิคจะค้นไม่เจอนะครับ ***
- ใช้เครื่องมือค้นหาข้อมูลที่ด้านบนของหน้า (เป็นบริการ custom search engine ของ google) เพื่อหาว่าเรื่องหรือคำที่ต้องการนั้นอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มใด และเมื่อเปิดพระไตรปิฎกเล่มนั้นขึ้นมาแล้ว ก็ค้นหาตำแหน่งของคำที่ต้องการในเล่มนั้นโดยใช้คำสั่งค้นหาในหน้าเว็บ (find in page) ของโปรแกรมที่ใช้ดูเว็บอีกทีนะครับ ซึ่งถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ Windows ก็กดปุ่ม [ctrl]+f หรือคลิกเมนูแล้วเลือก find… หรือ find in page ถ้าเป็น smart phone ก็เปิดเมนูคำสั่งของโปรแกรมแล้วหาคำสั่งพวก ค้นหาในหน้าเว็บ find หรือ find in page หรืออะไรทำนองนี้ดูนะครับ สำหรับอุปกรณ์อื่นก็ทำนองเดียวกันนะครับ
-
- เลือกเปิดจากสารบัญพระไตรปิฎกโดยตรง ซึ่งจะเป็นการเลือกเล่มที่จะเปิดด้วยตัวเองจากรายชื่อในสารบัญนะครับ ทำได้หลายทางคือ
-
-
- เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ทางเว็บจึงได้ทำเมนูลอยตรึงเอาไว้ที่มุมล่างขวาของทุกหน้า ไม่ว่าท่านจะอยู่ในตำแหน่งใดของหน้าใดในเว็บนี้ก็สามารถคลิกเรียกสารบัญจากเมนูลอยนี้ได้เลยครับ เมื่อคลิกแล้วหน้าต่างสารบัญก็จะแสดงออกมาโดยที่หน้าจอหลักยังอยู่ตำแหน่งเดิม นอกจากจะไม่ต้องเสียเวลาเลื่อนหน้าไปหาเมนูที่ด้านบนแล้วยังเหมาะมากสำหรับท่านที่อ่านแล้วเจอศัพท์ที่ไม่เข้าใจ ก็สามารถเปิดพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ได้จากเมนูลอยนี้ซึ่งจะเปิดพจนานุกรมขึ้นมาในหน้าใหม่โดยที่หน้าเดิมยังอยู่ในตำแหน่งเดิมรอให้ท่านกลับมาอ่านได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วยครับ
-
-
-
- นอกจากนี้ท่านยังสามารถคลิกเปิดสารบัญได้จากแถบสารบัญที่อยู่ด้านบนสุดและด้านล่างสุดของทุกหน้าครับ ซึ่งก็จะมีสารบัญย่อยขึ้นมาให้ท่านเลือกต่อไป
-
-
- และที่หน้าหลัก (คือหน้าที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้) ก็มีสารบัญ (เฉพาะส่วนของพระไตรปิฎก) อยู่ด้านล่างของหน้าเช่นกันครับ ท่านก็สามารถเลื่อนลงไปดูสารบัญได้เช่นกันครับ
โครงสร้างของสารบัญพระไตรปิฎก
-
- ระดับบนสุดใช้ชื่อว่าสารบัญพระไตรปิฎก โดยจะมีแยกเป็นพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เมื่อคลิกเลือกปิฎกที่ต้องการแล้ว ก็จะกระโดดไปสารบัญระดับที่ 2 ที่อยู่ด้านล่างลงไปอีก คือสารบัญเล่มพระไตรปิฎก ในตำแหน่งของปิฎกที่เลือกนะครับ
-
- สารบัญระดับที่ 2 คือสารบัญเล่มพระไตรปิฎก จะแยกเป็น 45 เล่ม ตามแบบพระไตรปิฎกที่เป็นเล่มหนังสือจริงๆ นะครับ เมื่อคลิกเลือกเล่มพระไตรปิฎกเล่มใดก็จะกระโดดไปที่สารบัญระดับที่ 3 ที่อยู่ด้านล่างสุดคือสารบัญเล่มย่อยพระไตรปิฎก ในตำแหน่งของเล่มหนังสือที่เลือกนะครับ
- สารบัญระดับล่างสุดคือสารบัญเล่มย่อยพระไตรปิฎก จะแยกเล่มพระไตรปิฎกเป็นเล่มย่อยอีกทีเพื่อลดขนาดข้อมูลที่เรียกดูแต่ละครั้งลง เมื่อคลิกเลือกเล่มย่อยเล่มใดก็จะเรียกเปิดพระไตรปิฎกเล่มย่อยนั้นขึ้นมาโดยตรงนะครับ ซึ่งการแบ่งหน้าและเลขหน้าที่แสดงจะตรงกับในพระไตรปิฎกที่เป็นเล่มหนังสือจริงๆ เลยนะครับ ถ้าต้องการไปที่พระสูตรไหนหรือหน้าอะไรก็ใช้คำสั่งค้นหาในหน้าเว็บแบบเดียวกับที่ได้อธิบายไว้ในวิธีใช้งานข้อ 1. ได้นะครับ
ที่มาของข้อมูล :
โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
MCUTRAI Version 1.0
ขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ
ข้อมูลพื้นฐานพระไตรปิฎก :
พระไตรปิฎกมีกี่เล่มกี่ฉบับแตกต่างกันอย่างไร
พระไตรปิฎกภาษาไทยที่เป็นเล่มหนังสือที่มีแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันนั้นมี 2 ฉบับนะครับ (แถมอีก 1 ที่หายากแล้ว) ซึ่งแต่ละฉบับก็มีจำนวนเล่มแตกต่างกัน คือ
-
- พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แบ่งเป็น 45 เล่ม ตามมาตรฐานนะครับ
-
- พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย แบ่งเป็น 91 เล่มครับ
- พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง แบ่งเป็น 45 เล่มตามมาตรฐานเช่นกันครับ
ความแตกต่างของพระไตรปิฎกแต่ละฉบับ :
พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง
คุณค่าของพระไตรปิฎก :
พระไตรปิฎกมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาอย่างไร
หากจะถามว่าพระไตรปิฎกมีความสำคัญอย่างไร ก็ตอบได้ว่าพระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนาเพราะเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมเอาคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้า รวมทั้งพระสาวกสำคัญต่างๆ เอาไว้ และเนื่องจากพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเป็นฝ่ายที่เป็นอนุรักษ์นิยมที่สุดในบรรดาพุทธศาสนานิกายต่างๆ เพราะพระอรหันต์ทั้ง 500 รูป ที่ร่วมกันทำสังคายนาพระธรรมวินัยตั้งแต่ครั้งที่ 1 ที่มีพระมหากัสสปะเป็นประธานหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 3 เดือน (การสังคายนาครั้งนั้นใช้เวลาทั้งสิ้น 7 เดือน) เพื่อรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และจัดเป็นหมวดหมู่ จนกลายมาเป็นพระไตรปิฎกในปัจจุบันนั้นได้มีมติร่วมกันว่าจะไม่เพิกถอนสิ่งต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติเอาไว้ และจะไม่บัญญัติสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาอีก จึงทำให้คำสอนของฝ่ายเถรวาทสามารถรักษาคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้าเอาไว้ได้มากที่สุด ต่างจากฝ่ายมหายานที่ปรับตัวไปตามยุคสมัยจึงมีการปรับเปลี่ยนคำสอนไปเรื่อยๆ โดยมุ่งเน้นให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายไปมากที่สุด จึงทำให้หาร่องรอยของคำสอนดั้งเดิมได้ยากกว่าฝ่ายเถรวาท
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าถ้าต้องการทราบคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าก็ต้องอ่านพระไตรปิฎกของเถรวาทนะครับ
พระไตรปิฎกคืออะไร
คำว่าไตรแปลว่า 3 คำว่าปิฎกแปลว่าตะกร้าหรือกระจาด พระไตรปิฎกคือคัมภีร์หรือหนังสือที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้ารวมถึงพระสาวกสำคัญต่างๆ เอาไว้ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ หรือ 3 ปิฎก และในแต่ละปิฎกก็แบ่งเป็นคัมภีร์ย่อยๆ อีกที ดังรายละเอียดด้านล่างนะครับ
เนื้อหาในพระไตรปิฎก :
พระไตรปิฎกประกอบด้วย 3 ส่วนหรือ 3 ปิฎก คือ
- พระวินัยปิฎก เป็นส่วนที่รวบรวมเรื่องพระวินัยหรือศีลเอาไว้ มี 21,000 พระธรรมขันธ์ (ข้อธรรม)
- พระสุตตันตปิฎก หรือพระสูตร เป็นส่วนที่รวบรวมพระธรรมคำสั่งสอนต่างๆ ของพระพุทธเจ้ารวมถึงพระสาวกสำคัญๆ เอาไว้ในลักษณะของการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในขณะนั้นว่าใครทำอะไรที่ไหนอย่างไรพระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร มี 21,000 พระธรรมขันธ์
- พระอภิธรรมปิฎก เป็นคำสอนที่ไม่กล่าวถึงตัวบุคคลแต่จะกล่าวถึงสภาวธรรมล้วนๆ เช่น จิตมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไร มีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง เกิดจากสาเหตุใด ดับไปเพราะอะไร เป็นต้น มีทั้งสิ้น 42,000 พระธรรมขันธ์
นวังคสัตถุศาสน์
พระพุทธวจนะ หรือ พุทธพจน์มีองค์ประกอบ 9 อย่าง
คำแนะนำการศึกษาพระไตรปิฎก
ในที่นี้จะขออนุญาตแนะนำท่านที่ยังใหม่ต่อพระไตรปิฎกอยู่นะครับ สำหรับผู้สนใจทั่วไปควรจะเริ่มอ่านจากพระสุตตันตปิฎกหรือพระสูตรก่อนนะครับ พระสูตรมีทั้งสิ้น 5 คัมภีร์ ซึ่งจะได้อธิบายรายละเอียดต่อไป โดยเมื่อตัดสินใจจะอ่านคัมภีร์ไหนก็ควรจะอ่านตั้งแต่หน้าแรกของคัมภีร์นั้นเลยนะครับ เพราะส่วนใหญ่ในตอนหลังๆ ของคัมภีร์เมื่อมีเนื้อหาซ้ำกับตอนแรกๆ ก็จะละข้อความเหล่านั้นเอาไว้ ไม่กล่าวรายละเอียดซ้ำอีก ดังนั้นท่านที่ข้ามตอนแรกๆ ไป ก็จะไม่เห็นรายละเอียดที่ละเอาไว้นั้นครับ
สำหรับพระภิกษุสามเณรก็คงต้องตัดสินใจก่อนนะครับว่าควรจะเริ่มศึกษาจากพระวินัยหรือพระสูตรก่อนดี เพราะมีความสำคัญต่อท่านทั้ง 2 อย่างในต่างแง่มุมกัน และทั้ง 2 ส่วนก็เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เพราะพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยก็เพื่อเกื้อหนุนพัฒนาการของจิต ศีลที่ด่างพร้อย ไม่บริสุทธิ์ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง ฟุ้งซ่าน ไม่สงบระงับ ยากแก่การปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนา ศีลที่บริสุทธิ์ย่อมทำให้จิตใจปลอดโปร่ง เบาสบาย ไร้กังวล และประณีตขึ้นโดยลำดับ ส่งผลให้การปฏิบัติธรรมเจริญก้าวหน้าได้โดยง่าย ความก้าวหน้าของการปฏิบัติธรรมย่อมทำให้จิตใจสงบระงับ ไม่ฟุ้งซ่าน กิเลสรบกวนน้อยลงไป ก็ย่อมทำให้การรักษาศีลทำได้โดยง่ายเช่นกัน โดยความเห็นส่วนตัวแล้วคิดว่าท่านควรจะศึกษาพระวินัยแบบเร่งรัดก่อน คือศึกษาจากหนังสือวินัยมุข หรือถ้ารวบรัดกว่านั้นก็หนังสือนวโกวาท (ซึ่งน่าจะรวบรัดเกินไปนะครับ) และถ้าสงสัยพระวินัยเรื่องไหนเป็นการเฉพาะก็ถึงมาอ่านพระวินัยปิฎกเรื่องนั้นให้กระจ่างแจ้ง จะได้หมดความกังวลใจนะครับ และเมื่อศึกษาพระวินัยแบบรวบรัดจนสบายใจแล้ว ก็มาทุ่มเทกับพระสูตรให้เต็มที่ก่อน เมื่อศึกษาพระสูตรจบแล้วก็ค่อยกลับไปอ่านพระวินัยปิฎกให้ละเอียดอีกที หรือจะอ่านพระอภิธรรมปิฎกก่อนก็ตามสะดวกครับ
สำหรับท่านที่คิดว่าพระไตรปิฎกมีเนื้อหามากเกินเวลาที่ท่านมีอยู่ หรือท่านที่มีพื้นฐานไม่มากพอที่จะทำความเข้าใจพระไตรปิฎกได้โดยง่าย อยากจะแนะนำให้ท่านได้อ่านธรรมะในส่วนของธัมมโชติ-เรียนลัดพระไตรปิฎกก่อนนะครับ (คลิกที่สารบัญได้เลยครับ ทั้งที่เมนูลอยที่มุมขวาล่างและที่แถบสารบัญที่ด้านบนสุดและล่างสุดของทุกหน้า) ในส่วนธัมมโชติ-เรียนลัดพระไตรปิฎกนั้นได้รวบรวมพระไตรปิฎกเรื่องที่คนทั่วไปควรจะรู้เอาไว้ โดยแยกเป็น 7 หมวด คือ หมวดทาน หมวดศีล สมถกรรมฐาน (สมาธิ) วิปัสสนา (ปัญญา) ธรรมทั่วไป บทวิเคราะห์ ตัวอย่างการบรรลุธรรม เพื่อให้ง่ายในการเลือกอ่านครับ ซึ่งจะมีทั้งเอาพระไตรปิฎกมาลงไว้โดยตรงพร้อมคำอธิบายประกอบ และการสรุปความมาจากพระไตรปิฎกหลายๆ สูตรอีกที เมื่ออ่านในส่วนของธัมมโชติ-เรียนลัดพระไตรปิฎกจบแล้ว เชื่อว่าท่านจะมีพื้นฐานมากพอที่จะสามารถอ่านพระไตรปิฎกได้ด้วยตัวท่านเองครับ
รายละเอียดของพระไตรปิฎกคัมภีร์ต่างๆ
พระวินัยปิฎก มี 5 คัมภีร์ คือ
- มหาวิภังค์ คือศีล 227 ข้อสำหรับภิกษุ ที่มีในพระปาฏิโมกข์
- ภิกขุนีวิภังค์ คือศีล 311 ข้อสำหรับภิกษุณี ที่มีในภิกขุนีปาฏิโมกข์
- มหาวรรค เป็นศีลนอกพระปาฏิโมกข์ที่มีเนื้อความยาวๆ เช่น เรื่องวิธีการอุปสมบท เรื่องน้ำปานะที่ทรงอนุญาต เรื่องข้อปฏิบัติเกี่ยวกับจีวร เป็นต้น
- จุลวรรค เป็นศีลนอกพระปาฏิโมกข์ที่มีเนื้อความสั้นๆ เช่น เรื่องการเข้าปริวาส การระงับอธิกรณ์ เรื่องเสนาสนะ เป็นต้น
- ปริวาร เป็นการวิเคราะห์ สังเคราะห์พระวินัย เช่น พระวินัยที่เกิดที่เมืองไหนมีกี่ข้อ พระวินัยเกี่ยวกับเรื่องอะไรมีกี่ข้อ เป็นต้น
พระสุตตันตปิฎกหรือพระสูตร มี 5 คัมภีร์ คือ
- ทีฆนิกาย เป็นพระสูตรที่มีเนื้อหายาว (ทีฆะแปลว่ายาว) เช่น เรื่องการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า มหาสติปัฏฐานสูตรซึ่งเป็นพระสูตรที่แสดงการเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างละเอียดที่สุด เรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นต้น อ่านเพลินและดื่มด่ำในบรรยากาศเหมือนได้อยู่ในเหตุการณ์ด้วยเลยครับ
- มัชฌิมนิกาย เป็นพระสูตรที่มีเนื้อหาความยาวปานกลาง เช่น ข้อปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ ทีฆนขสูตรที่พระสารีบุตรบรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นต้น
- สังยุตตนิกาย เป็นพระสูตรที่รวมเนื้อหาไว้เป็นหมวดตามสิ่งที่เกี่ยวข้อง เช่น เทวดาสังยุตจะรวมเรื่องที่พระพุทธเจ้าตอบปัญหาเทวดา โกสลสังยุตรวมเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าปเสนทิโกศล ขันธสังยุตรวมเรื่องเกี่ยวกับขันธ์ 5 โพชฌังคสังยุตรวมเรื่องเกี่ยวกับโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) เป็นต้น เป็นการอ่านธรรมะแต่ละอย่างเช่นเรื่องขันธ์ 5 ในหลายแง่มุม (หลายสูตรในหมวดเดียวกัน) ทำให้เข้าใจเรื่องนั้นอย่างแตกฉานเลยครับ
- อังคุตตรนิกาย เป็นพระสูตรที่รวมหมวดไว้ตามจำนวนองค์ประกอบ เช่น จตุกกนิบาต (หมวด 4) ก็จะเป็นพระสูตรพวกความเพียร 4 ประการ อคติ (ความลำเอียง) 4 ประการ วิปลาส 4 สังคหวัตถุ 4 เป็นต้น
- ขุททกนิกาย เป็นพระสูตรที่มีเนื้อความสั้น เช่น มงคลสูตร คาถาธรรมบท ชาดก เปตวัตถุรวมเรื่องเปรต วิมานวัตถุรวมเรื่องวิมานและบุญที่ทำให้ได้วิมานของเทวดานางฟ้า อปทานรวมเรื่องอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระสาวกที่สำคัญ เป็นต้น
พระอภิธรรมปิฎก มี 7 คัมภีร์ คือ
- ธัมมสังคนี เป็นคัมภีร์ที่อธิบายรายละเอียดของสภาวธรรมต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของการศึกษาธรรมะให้เข้าใจลึกซึ้งและถูกต้อง เช่น ลักษณะและองค์ประกอบของจิตแต่ละประเภท เช่น กามาวจรมหากุศลจิตมี 8 ประเภท อกุศลจิตที่มีความโลภเป็นมูลมี 8 ประเภท อกุศลจิตที่มีความโกรธเป็นมูลมี 2 ประเภท อกุศลจิตที่มีความหลงเป็นมูลมี 2 ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไร มีอะไรเป็นองค์ประกอบบ้าง เป็นต้น
- วิภังค์ เป็นคัมภีร์ที่จำแนกธรรมเป็นข้อๆ แล้วอธิบายรายละเอียดแต่ละข้ออย่างละเอียดมากๆ หลายแง่หลายมุม นับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของการศึกษาธรรมะให้เข้าใจลึกซึ้งและถูกต้องอีกคัมภีร์หนึ่ง เช่น ขันธวิภังค์ ก็อธิบายเรื่องขันธ์ 5 แต่ละขันธ์อย่างละเอียดเป็นข้อๆ อย่างวิจิตรพิสดาร ธรรมะในหมวดอื่นๆ ก็เช่นเดียวกันครับ
- ธาตุกถา เป็นคัมภีร์ที่เป็นการนำความรู้เรื่องสภาวธรรมพื้นฐานมาอธิบายให้สลับซับซ้อนขึ้นในแง่ความเข้ากันได้หรือเข้ากันไม่ได้ เป็นพวกเดียวกันหรือคนละพวกของสภาวธรรมในหมวดต่างๆ คล้ายกับเรื่องเซ็ต สับเซ็ต ยูเนี่ยน อินเตอร์เซ็กชั่นในวิชาคณิตศาสตร์นะครับ ซึ่งจะทำให้เข้าใจสภาวธรรมต่างๆ ได้ทะลุปรุโปร่งขึ้น เช่น “รูปขันธ์สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร – รูปขันธ์สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ และธาตุ ๑๑ – สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร – สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ และธาตุ ๗” ตรงนี้ขออธิบายเพิ่มเติมนะครับ ขันธ์ ๑ = รูปขันธ์, อายตนะ ๑๑ = ตา, รูป, หู, เสียง, จมูก, กลิ่น, ลิ้น, รส, กาย, โผฏฐัพพะ, ธัมมายตนะ หรือธัมมารมณ์เฉพาะในส่วนที่เป็นรูป (ธัมมารมณ์ หรือธัมมายตนะ หรือธัมมธาตุ ประกอบด้วยเวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ (คือรูปที่เกิดขึ้นทางใจ หรือรูปละเอียด เช่น สภาวะความเป็นหญิง ชาย เป็นต้น) และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง คือนิพพาน), ธาตุ ๑๑ = เหมือนอายตนะ ๑๑, ขันธ์ ๔ = เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์, อายตนะ ๑ = มนายตนะ (ใจ), ธาตุ ๗ = จักขุวิญญาณธาตุ, โสตวิญญาณธาตุ, ฆานวิญญาณธาตุ, ชิวหาวิญญาณธาตุ, กายวิญญาณธาตุ, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ
- ปุคคลบัญญัติ เป็นคัมภีร์ที่จำแนกบุคคลออกเป็นประเภทต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่หมวดหนึ่ง หมวดสอง … จนถึงหมวดสิบ ในส่วนแรกจะแสดงอุทเทสคือหัวข้อก่อน แล้วอธิบายรายละเอียดในส่วนนิทเทสซึ่งอยู่ถัดไปนะครับ ยกตัวอย่างเช่น หมวดสี่ เช่น บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จำพวก, บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวก หมวดห้า เช่น ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวก, ภิกษุผู้ถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร ๕ จำพวก
- กถาวัตถุ เป็นคัมภีร์ที่รจนาโดยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานสองร้อยกว่าปีนะครับ ในสมัยนั้นมีทิฏฐินอกศาสนาเข้ามาปลอมปนในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระจึงได้รจนาคัมภีร์นี้ขึ้นมาเพื่อโต้แย้งทิฏฐิเหล่านั้น โดยรูปแบบจะเป็นการโต้วาทีกันระหว่างฝ่ายที่มีทิฏฐิแบบเถรวาท กับฝ่ายที่มีทิฏฐิที่ปลอมปนเข้ามา เช่น โต้แย้งกันเรื่องบุคคลเป็นเพียงสมมุติบัญญัติคือไม่มีอยู่จริง เป็นอนัตตา สุญญตา หรือเป็นปรมัตถ์คือเป็นสภาวะที่มีอยู่จริง ไม่ใช่เป็นเพียงรูปกับนาม
- ยมก เป็นคัมภีร์ที่อธิบายสภาวธรรมเป็นคู่ๆ ในลักษณะการถามและตอบคำถาม เช่น “อนุ. จักขุนทรีย์ของบุคคลใดกำลังเกิด โสมนัสสินทรีย์ของบุคคลนั้นก็จักเกิดใช่ไหม วิ. ปัจฉิมภวิกบุคคลผู้กำลังอุบัติในปัญจโวการภูมิและบุคคลเหล่าใดผู้มีจักขุเกิดได้มีอุเบกขาจักอุบัติแล้วปรินิพพาน บุคคลเหล่านั้นกำลังอุบัติ จักขุนทรีย์ของบุคคลเหล่านั้นกำลังเกิด แต่โสมนัสสินทรีย์ไม่ใช่จักเกิด บุคคลนอกนี้ผู้มีจักขุเกิดได้กำลังอุบัติ จักขุนทรีย์ของบุคคลเหล่านั้นกำลังเกิดและโสมนัสสินทรีย์ก็จักเกิด“
- ปัฏฐาน เป็นคัมภีร์ที่แสดงเรื่องเหตุปัจจัยประเภทต่างๆ อย่างละเอียด ที่พระสวดว่า “เหตุปจฺจโย อารมฺมณปจฺจโย อธิปติปจฺจโย อนนฺตรปจฺจโย…” คือสภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุ สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอธิบดี สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น… นะครับ ซึ่งเป็นธรรมะที่ทำให้เข้าใจเรื่องอนัตตาได้อย่างแจ่มชัด คือทุกสิ่งล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย เมื่อมีเหตุให้เกิดก็เกิด เมื่อมีเหตุให้ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ เมื่อมีเหตุให้ดับก็ดับไป เมื่อไม่มีเหตุให้เกิดก็ไม่เกิด ทุกสิ่งล้วนเป็นไปตามกระแสของเหตุปัจจัย ไม่มีอำนาจเฉพาะตนที่จะบังคับให้สิ่งใดเป็นไปตามที่ใครปรารถนาได้ ทำได้ก็แค่เพียงสร้างเหตุปัจจัยเท่านั้น ซึ่งก็เป็นเพียงเหตุปัจจัยส่วนน้อยในกระแสของเหตุปัจจัยที่ส่งผลอยู่ ดังนั้นตราบใดที่ยังมีการเกิดอยู่จึงไม่มีใครที่พ้นจากทุกข์ไปได้ เพราะความไม่เที่ยง ความทุกข์ ความเป็นอนัตตาเป็นกระแสปัจจัยหลักของวัฏสงสาร
*** ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์นี้นะครับ
สารบัญพระไตรปิฎก
สารบัญเล่มพระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๑ วินัยปิฎกที่ ๐๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ [กลับด้านบน]
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๓ วินัยปิฎกที่ ๐๓ ภิกขุนีวิภังค์
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๔ วินัยปิฎกที่ ๐๔ มหาวรรค ภาค ๑
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๖ วินัยปิฎกที่ ๐๖ จุลวรรค ภาค ๑
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร
พระสุตตันตปิฎก
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๙ สุตตันตปิฎกที่ ๐๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [กลับด้านบน]
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎกที่ ๐๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎกที่ ๐๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎกที่ ๐๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎกที่ ๐๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎกที่ ๐๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎกที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ สุตตันตปิฎกที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ สุตตันตปิฎกที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ สุตตันตปิฎกที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ สุตตันตปิฎกที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๑ ธัมมสังคนี [กลับด้านบน]
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๓ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๘ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๕ ยมก ภาค ๑
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๙ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๖ ยมก ภาค ๒
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๗ ปัฏฐาน ภาค ๑
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๘ ปัฏฐาน ภาค ๒
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๙ ปัฏฐาน ภาค ๓
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ อภิธรรมปิฎกที่ ๑๐ ปัฏฐาน ภาค ๔
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๔ อภิธรรมปิฎกที่ ๑๑ ปัฏฐาน ภาค ๕
- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๑๒ ปัฏฐาน ภาค ๖
สารบัญเล่มย่อยพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๑ วินัยปิฎกที่ ๐๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๐๑-๑ หน้า ๑ – ๕๔
- เล่มที่ ๐๑-๒ หน้า ๕๕ – ๑๐๘
- เล่มที่ ๐๑-๓ หน้า ๑๐๙ – ๑๖๑
- เล่มที่ ๐๑-๔ หน้า ๑๖๒ – ๒๑๕
- เล่มที่ ๐๑-๕ หน้า ๒๑๖ – ๒๖๙
- เล่มที่ ๐๑-๖ หน้า ๒๗๐ – ๓๒๒
- เล่มที่ ๐๑-๗ หน้า ๓๒๓ – ๓๗๖
- เล่มที่ ๐๑-๘ หน้า ๓๗๗ – ๔๓๐
- เล่มที่ ๐๑-๙ หน้า ๔๓๑ – ๔๘๔
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๐๒-๑ หน้า ๑ – ๖๑
- เล่มที่ ๐๒-๒ หน้า ๖๒ – ๑๒๒
- เล่มที่ ๐๒-๓ หน้า ๑๒๓ – ๑๘๔
- เล่มที่ ๐๒-๔ หน้า ๑๘๕ – ๒๔๕
- เล่มที่ ๐๒-๕ หน้า ๒๔๖ – ๓๐๖
- เล่มที่ ๐๒-๖ หน้า ๓๐๗ – ๓๖๘
- เล่มที่ ๐๒-๗ หน้า ๓๖๙ – ๔๒๙
- เล่มที่ ๐๒-๘ หน้า ๔๓๐ – ๔๙๐
- เล่มที่ ๐๒-๙ หน้า ๔๙๑ – ๕๕๒
- เล่มที่ ๐๒-๑๐ หน้า ๕๕๓ – ๖๑๔
- เล่มที่ ๐๒-๑๑ หน้า ๖๑๕ – ๖๗๖
- เล่มที่ ๐๒-๑๒ หน้า ๖๗๗ – ๗๓๗
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๓ วินัยปิฎกที่ ๐๓ ภิกขุนีวิภังค์ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๐๓-๑ หน้า ๑ – ๖๗
- เล่มที่ ๐๓-๒ หน้า ๖๘ – ๑๓๔
- เล่มที่ ๐๓-๓ หน้า ๑๓๕ – ๒๐๐
- เล่มที่ ๐๓-๔ หน้า ๒๐๑ – ๒๖๗
- เล่มที่ ๐๓-๕ หน้า ๒๖๘ – ๓๓๔
- เล่มที่ ๐๓-๖ หน้า ๓๓๕ – ๔๐๑
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๔ วินัยปิฎกที่ ๐๔ มหาวรรค ภาค ๑ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๐๔-๑ หน้า ๑ – ๔๔
- เล่มที่ ๐๔-๒ หน้า ๔๕ – ๘๘
- เล่มที่ ๐๔-๓ หน้า ๘๙ – ๑๓๑
- เล่มที่ ๐๔-๔ หน้า ๑๓๒ – ๑๗๕
- เล่มที่ ๐๔-๕ หน้า ๑๗๖ – ๒๑๙
- เล่มที่ ๐๔-๖ หน้า ๒๒๐ – ๒๖๒
- เล่มที่ ๐๔-๗ หน้า ๒๖๓ – ๓๐๖
- เล่มที่ ๐๔-๘ หน้า ๓๐๗ – ๓๕๐
- เล่มที่ ๐๔-๙ หน้า ๓๕๑ – ๓๙๓
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๐๕-๑ หน้า ๑ – ๔๒
- เล่มที่ ๐๕-๒ หน้า ๔๓ – ๘๔
- เล่มที่ ๐๕-๓ หน้า ๘๕ – ๑๒๕
- เล่มที่ ๐๕-๔ หน้า ๑๒๖ – ๑๖๗
- เล่มที่ ๐๕-๕ หน้า ๑๖๘ – ๒๐๙
- เล่มที่ ๐๕-๖ หน้า ๒๑๐ – ๒๕๐
- เล่มที่ ๐๕-๗ หน้า ๒๕๑ – ๒๙๑
- เล่มที่ ๐๕-๘ หน้า ๒๙๒ – ๓๓๒
- เล่มที่ ๐๕-๙ หน้า ๓๓๓ – ๓๗๔
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๖ วินัยปิฎกที่ ๐๖ จุลวรรค ภาค ๑ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๐๖-๑ หน้า ๑ – ๖๑
- เล่มที่ ๐๖-๒ หน้า ๖๒ – ๑๒๒
- เล่มที่ ๐๖-๓ หน้า ๑๒๓ – ๑๘๔
- เล่มที่ ๐๖-๔ หน้า ๑๘๕ – ๒๔๖
- เล่มที่ ๐๖-๕ หน้า ๒๔๗ – ๓๐๘
- เล่มที่ ๐๖-๖ หน้า ๓๐๙ – ๓๖๙
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๐๗-๑ หน้า ๑ – ๔๗
- เล่มที่ ๐๗-๒ หน้า ๔๘ – ๙๔
- เล่มที่ ๐๗-๓ หน้า ๙๕ – ๑๔๐
- เล่มที่ ๐๗-๔ หน้า ๑๔๑ – ๑๘๗
- เล่มที่ ๐๗-๕ หน้า ๑๘๘ – ๒๓๔
- เล่มที่ ๐๗-๖ หน้า ๒๓๕ – ๒๘๐
- เล่มที่ ๐๗-๗ หน้า ๒๘๑ – ๓๒๗
- เล่มที่ ๐๗-๘ หน้า ๓๒๘ – ๓๗๔
- เล่มที่ ๐๗-๙ หน้า ๓๗๕ – ๔๒๐
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๐๘-๑ หน้า ๑ – ๖๐
- เล่มที่ ๐๘-๒ หน้า ๖๑ – ๑๒๐
- เล่มที่ ๐๘-๓ หน้า ๑๒๑ – ๑๘๐
- เล่มที่ ๐๘-๔ หน้า ๑๘๑ – ๒๔๐
- เล่มที่ ๐๘-๕ หน้า ๒๔๑ – ๓๐๐
- เล่มที่ ๐๘-๖ หน้า ๓๐๑ – ๓๖๐
- เล่มที่ ๐๘-๗ หน้า ๓๖๑ – ๔๒๐
- เล่มที่ ๐๘-๘ หน้า ๔๒๑ – ๔๘๐
- เล่มที่ ๐๘-๙ หน้า ๔๘๑ – ๕๔๐
- เล่มที่ ๐๘-๑๐ หน้า ๕๔๑ – ๖๐๐
- เล่มที่ ๐๘-๑๑ หน้า ๖๐๑ – ๖๖๐
- เล่มที่ ๐๘-๑๒ หน้า ๖๖๑ – ๗๒๑
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๙ สุตตันตปิฎกที่ ๐๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๐๙-๑ หน้า ๑ – ๔๑
- เล่มที่ ๐๙-๒ หน้า ๔๒ – ๘๒
- เล่มที่ ๐๙-๓ หน้า ๘๓ – ๑๒๓
- เล่มที่ ๐๙-๔ หน้า ๑๒๔ – ๑๖๔
- เล่มที่ ๐๙-๕ หน้า ๑๖๕ – ๒๐๕
- เล่มที่ ๐๙-๖ หน้า ๒๐๖ – ๒๔๗
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎกที่ ๐๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๑๐-๑ หน้า ๑ – ๔๑
- เล่มที่ ๑๐-๒ หน้า ๔๒ – ๘๒
- เล่มที่ ๑๐-๓ หน้า ๘๓ – ๑๒๔
- เล่มที่ ๑๐-๔ หน้า ๑๒๕ – ๑๖๕
- เล่มที่ ๑๐-๕ หน้า ๑๖๖ – ๒๐๖
- เล่มที่ ๑๐-๖ หน้า ๒๐๗ – ๒๔๘
- เล่มที่ ๑๐-๗ หน้า ๒๔๙ – ๒๘๙
- เล่มที่ ๑๐-๘ หน้า ๒๙๐ – ๓๓๐
- เล่มที่ ๑๐-๙ หน้า ๓๓๑ – ๓๗๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎกที่ ๐๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๑๑-๑ หน้า ๑ – ๔๙
- เล่มที่ ๑๑-๒ หน้า ๕๐ – ๙๘
- เล่มที่ ๑๑-๓ หน้า ๙๙ – ๑๔๖
- เล่มที่ ๑๑-๔ หน้า ๑๔๗ – ๑๙๕
- เล่มที่ ๑๑-๕ หน้า ๑๙๖ – ๒๔๔
- เล่มที่ ๑๑-๖ หน้า ๒๔๕ – ๒๙๒
- เล่มที่ ๑๑-๗ หน้า ๒๙๓ – ๓๔๑
- เล่มที่ ๑๑-๘ หน้า ๓๔๒ – ๓๙๐
- เล่มที่ ๑๑-๙ หน้า ๓๙๑ – ๔๓๘
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎกที่ ๐๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๑๒-๑ หน้า ๑ – ๔๖
- เล่มที่ ๑๒-๒ หน้า ๔๗ – ๙๒
- เล่มที่ ๑๒-๓ หน้า ๙๓ – ๑๓๙
- เล่มที่ ๑๒-๔ หน้า ๑๔๐ – ๑๘๕
- เล่มที่ ๑๒-๕ หน้า ๑๘๖ – ๒๓๑
- เล่มที่ ๑๒-๖ หน้า ๒๓๒ – ๒๗๘
- เล่มที่ ๑๒-๗ หน้า ๒๗๙ – ๓๒๔
- เล่มที่ ๑๒-๘ หน้า ๓๒๕ – ๓๗๐
- เล่มที่ ๑๒-๙ หน้า ๓๗๑ – ๔๑๖
- เล่มที่ ๑๒-๑๐ หน้า ๔๑๗ – ๔๖๒
- เล่มที่ ๑๒-๑๑ หน้า ๔๖๓ – ๕๐๘
- เล่มที่ ๑๒-๑๒ หน้า ๕๐๙ – ๕๕๔
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๑๓-๑ หน้า ๑ – ๕๑
- เล่มที่ ๑๓-๒ หน้า ๕๒ – ๑๐๒
- เล่มที่ ๑๓-๓ หน้า ๑๐๓ – ๑๕๓
- เล่มที่ ๑๓-๔ หน้า ๑๕๔ – ๒๐๔
- เล่มที่ ๑๓-๕ หน้า ๒๐๕ – ๒๕๕
- เล่มที่ ๑๓-๖ หน้า ๒๕๖ – ๓๐๖
- เล่มที่ ๑๓-๗ หน้า ๓๐๗ – ๓๕๗
- เล่มที่ ๑๓-๘ หน้า ๓๕๘ – ๔๐๘
- เล่มที่ ๑๓-๙ หน้า ๔๐๙ – ๔๖๐
- เล่มที่ ๑๓-๑๐ หน้า ๔๖๑ – ๕๑๑
- เล่มที่ ๑๓-๑๑ หน้า ๕๑๒ – ๕๖๒
- เล่มที่ ๑๓-๑๒ หน้า ๕๖๓ – ๖๑๔
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๑๔-๑ หน้า ๑ – ๔๒
- เล่มที่ ๑๔-๒ หน้า ๔๓ – ๘๔
- เล่มที่ ๑๔-๓ หน้า ๘๕ – ๑๒๗
- เล่มที่ ๑๔-๔ หน้า ๑๒๘ – ๑๖๙
- เล่มที่ ๑๔-๕ หน้า ๑๗๐ – ๒๑๑
- เล่มที่ ๑๔-๖ หน้า ๒๑๒ – ๒๕๔
- เล่มที่ ๑๔-๗ หน้า ๒๕๕ – ๒๙๗
- เล่มที่ ๑๔-๘ หน้า ๒๙๘ – ๓๔๐
- เล่มที่ ๑๔-๙ หน้า ๓๔๑ – ๓๘๒
- เล่มที่ ๑๔-๑๐ หน้า ๓๘๓ – ๔๒๕
- เล่มที่ ๑๔-๑๑ หน้า ๔๒๖ – ๔๖๘
- เล่มที่ ๑๔-๑๒ หน้า ๔๖๙ – ๕๑๐
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎกที่ ๐๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๑๕-๑ หน้า ๑ – ๖๖
- เล่มที่ ๑๕-๒ หน้า ๖๗ – ๑๓๒
- เล่มที่ ๑๕-๓ หน้า ๑๓๓ – ๑๙๘
- เล่มที่ ๑๕-๔ หน้า ๑๙๙ – ๒๖๔
- เล่มที่ ๑๕-๕ หน้า ๒๖๕ – ๓๓๐
- เล่มที่ ๑๕-๖ หน้า ๓๓๑ – ๓๙๖
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎกที่ ๐๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๑๖-๑ หน้า ๑ – ๕๗
- เล่มที่ ๑๖-๒ หน้า ๕๘ – ๑๑๔
- เล่มที่ ๑๖-๓ หน้า ๑๑๕ – ๑๗๐
- เล่มที่ ๑๖-๔ หน้า ๑๗๑ – ๒๒๗
- เล่มที่ ๑๖-๕ หน้า ๒๒๘ – ๒๘๔
- เล่มที่ ๑๖-๖ หน้า ๒๘๕ – ๓๔๐
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๑๗-๑ หน้า ๑ – ๔๕
- เล่มที่ ๑๗-๒ หน้า ๔๖ – ๙๐
- เล่มที่ ๑๗-๓ หน้า ๙๑ – ๑๓๖
- เล่มที่ ๑๗-๔ หน้า ๑๓๗ – ๑๘๑
- เล่มที่ ๑๗-๕ หน้า ๑๘๒ – ๒๒๖
- เล่มที่ ๑๗-๖ หน้า ๒๒๗ – ๒๗๒
- เล่มที่ ๑๗-๗ หน้า ๒๗๓ – ๓๑๗
- เล่มที่ ๑๗-๘ หน้า ๓๑๘ – ๓๖๒
- เล่มที่ ๑๗-๙ หน้า ๓๖๓ – ๔๐๘
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๑๘-๑ หน้า ๑ – ๕๕
- เล่มที่ ๑๘-๒ หน้า ๕๖ – ๑๑๐
- เล่มที่ ๑๘-๓ หน้า ๑๑๑ – ๑๖๕
- เล่มที่ ๑๘-๔ หน้า ๑๖๖ – ๒๒๐
- เล่มที่ ๑๘-๕ หน้า ๒๒๑ – ๒๗๕
- เล่มที่ ๑๘-๖ หน้า ๒๗๖ – ๓๓๐
- เล่มที่ ๑๘-๗ หน้า ๓๓๑ – ๓๘๕
- เล่มที่ ๑๘-๘ หน้า ๓๘๖ – ๔๔๐
- เล่มที่ ๑๘-๙ หน้า ๔๔๑ – ๔๙๖
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๑๙-๑ หน้า ๑ – ๕๕
- เล่มที่ ๑๙-๒ หน้า ๕๖ – ๑๑๐
- เล่มที่ ๑๙-๓ หน้า ๑๑๑ – ๑๖๔
- เล่มที่ ๑๙-๔ หน้า ๑๖๕ – ๒๑๙
- เล่มที่ ๑๙-๕ หน้า ๒๒๐ – ๒๗๔
- เล่มที่ ๑๙-๖ หน้า ๒๗๕ – ๓๒๘
- เล่มที่ ๑๙-๗ หน้า ๓๒๙ – ๓๘๓
- เล่มที่ ๑๙-๘ หน้า ๓๘๔ – ๔๓๘
- เล่มที่ ๑๙-๙ หน้า ๔๓๙ – ๔๙๓
- เล่มที่ ๑๙-๑๐ หน้า ๔๙๔ – ๕๔๘
- เล่มที่ ๑๙-๑๑ หน้า ๕๔๙ – ๖๐๓
- เล่มที่ ๑๙-๑๒ หน้า ๖๐๔ – ๖๕๘
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๒๐-๑ หน้า ๑ – ๔๖
- เล่มที่ ๒๐-๒ หน้า ๔๗ – ๙๒
- เล่มที่ ๒๐-๓ หน้า ๙๓ – ๑๓๗
- เล่มที่ ๒๐-๔ หน้า ๑๓๘ – ๑๘๓
- เล่มที่ ๒๐-๕ หน้า ๑๘๔ – ๒๒๙
- เล่มที่ ๒๐-๖ หน้า ๒๓๐ – ๒๗๔
- เล่มที่ ๒๐-๗ หน้า ๒๗๕ – ๓๒๐
- เล่มที่ ๒๐-๘ หน้า ๓๒๑ – ๓๖๖
- เล่มที่ ๒๐-๙ หน้า ๓๖๗ – ๔๑๑
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๒๑-๑ หน้า ๑ – ๔๓
- เล่มที่ ๒๑-๒ หน้า ๔๔ – ๘๖
- เล่มที่ ๒๑-๓ หน้า ๘๗ – ๑๓๐
- เล่มที่ ๒๑-๔ หน้า ๑๓๑ – ๑๗๔
- เล่มที่ ๒๑-๕ หน้า ๑๗๕ – ๒๑๘
- เล่มที่ ๒๑-๖ หน้า ๒๑๙ – ๒๖๑
- เล่มที่ ๒๑-๗ หน้า ๒๖๒ – ๓๐๕
- เล่มที่ ๒๑-๘ หน้า ๓๐๖ – ๓๔๙
- เล่มที่ ๒๑-๙ หน้า ๓๕๐ – ๓๙๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๒๒-๑ หน้า ๑ – ๕๔
- เล่มที่ ๒๒-๒ หน้า ๕๕ – ๑๐๘
- เล่มที่ ๒๒-๓ หน้า ๑๐๙ – ๑๖๑
- เล่มที่ ๒๒-๔ หน้า ๑๖๒ – ๒๑๕
- เล่มที่ ๒๒-๕ หน้า ๒๑๖ – ๒๖๙
- เล่มที่ ๒๒-๖ หน้า ๒๗๐ – ๓๒๒
- เล่มที่ ๒๒-๗ หน้า ๓๒๓ – ๓๗๖
- เล่มที่ ๒๒-๘ หน้า ๓๗๗ – ๔๓๐
- เล่มที่ ๒๒-๙ หน้า ๔๓๑ – ๔๘๓
- เล่มที่ ๒๒-๑๐ หน้า ๔๘๔ – ๕๓๗
- เล่มที่ ๒๒-๑๑ หน้า ๕๓๘ – ๕๙๑
- เล่มที่ ๒๒-๑๒ หน้า ๕๙๒ – ๖๔๔
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๒๓-๑ หน้า ๑ – ๔๗
- เล่มที่ ๒๓-๒ หน้า ๔๘ – ๙๔
- เล่มที่ ๒๓-๓ หน้า ๙๕ – ๑๔๑
- เล่มที่ ๒๓-๔ หน้า ๑๔๒ – ๑๘๘
- เล่มที่ ๒๓-๕ หน้า ๑๘๙ – ๒๓๕
- เล่มที่ ๒๓-๖ หน้า ๒๓๖ – ๒๘๒
- เล่มที่ ๒๓-๗ หน้า ๒๘๓ – ๓๒๙
- เล่มที่ ๒๓-๘ หน้า ๓๓๐ – ๓๗๖
- เล่มที่ ๒๓-๙ หน้า ๓๗๗ – ๔๒๓
- เล่มที่ ๒๓-๑๐ หน้า ๔๒๔ – ๔๗๐
- เล่มที่ ๒๓-๑๑ หน้า ๔๗๑ – ๕๑๗
- เล่มที่ ๒๓-๑๒ หน้า ๕๑๘ – ๕๖๔
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๒๔-๑ หน้า ๑ – ๕๐
- เล่มที่ ๒๔-๒ หน้า ๕๑ – ๑๐๐
- เล่มที่ ๒๔-๓ หน้า ๑๐๑ – ๑๔๙
- เล่มที่ ๒๔-๔ หน้า ๑๕๐ – ๑๙๙
- เล่มที่ ๒๔-๕ หน้า ๒๐๐ – ๒๔๙
- เล่มที่ ๒๔-๖ หน้า ๒๕๐ – ๒๙๙
- เล่มที่ ๒๔-๗ หน้า ๓๐๐ – ๓๔๙
- เล่มที่ ๒๔-๘ หน้า ๓๕๐ – ๓๙๙
- เล่มที่ ๒๔-๙ หน้า ๔๐๐ – ๔๔๙
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎกที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๒๕-๑ หน้า ๑ – ๖๕
- เล่มที่ ๒๕-๒ หน้า ๖๖ – ๑๓๐
- เล่มที่ ๒๕-๓ หน้า ๑๓๑ – ๑๙๖
- เล่มที่ ๒๕-๔ หน้า ๑๙๗ – ๒๖๑
- เล่มที่ ๒๕-๕ หน้า ๒๖๒ – ๓๒๖
- เล่มที่ ๒๕-๖ หน้า ๓๒๗ – ๓๙๒
- เล่มที่ ๒๕-๗ หน้า ๓๙๓ – ๔๕๗
- เล่มที่ ๒๕-๘ หน้า ๔๕๘ – ๕๒๒
- เล่มที่ ๒๕-๙ หน้า ๕๒๓ – ๕๘๘
- เล่มที่ ๒๕-๑๐ หน้า ๕๘๙ – ๖๕๓
- เล่มที่ ๒๕-๑๑ หน้า ๖๕๔ – ๗๑๘
- เล่มที่ ๒๕-๑๒ หน้า ๗๑๙ – ๗๘๔
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ สุตตันตปิฎกที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๒๖-๑ หน้า ๑ – ๕๓
- เล่มที่ ๒๖-๒ หน้า ๕๔ – ๑๐๖
- เล่มที่ ๒๖-๓ หน้า ๑๐๗ – ๑๖๐
- เล่มที่ ๒๖-๔ หน้า ๑๖๑ – ๒๑๓
- เล่มที่ ๒๖-๕ หน้า ๒๑๔ – ๒๖๖
- เล่มที่ ๒๖-๖ หน้า ๒๖๗ – ๓๒๐
- เล่มที่ ๒๖-๗ หน้า ๓๒๑ – ๓๗๓
- เล่มที่ ๒๖-๘ หน้า ๓๗๔ – ๔๒๖
- เล่มที่ ๒๖-๙ หน้า ๔๒๗ – ๔๘๐
- เล่มที่ ๒๖-๑๐ หน้า ๔๘๑ – ๕๓๓
- เล่มที่ ๒๖-๑๑ หน้า ๕๓๔ – ๕๘๖
- เล่มที่ ๒๖-๑๒ หน้า ๕๘๗ – ๖๔๐
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๒๗-๑ หน้า ๑ – ๕๓
- เล่มที่ ๒๗-๒ หน้า ๕๔ – ๑๐๖
- เล่มที่ ๒๗-๓ หน้า ๑๐๗ – ๑๕๙
- เล่มที่ ๒๗-๔ หน้า ๑๖๐ – ๒๑๒
- เล่มที่ ๒๗-๕ หน้า ๒๑๓ – ๒๖๕
- เล่มที่ ๒๗-๖ หน้า ๒๖๖ – ๓๑๘
- เล่มที่ ๒๗-๗ หน้า ๓๑๙ – ๓๗๑
- เล่มที่ ๒๗-๘ หน้า ๓๗๒ – ๔๒๔
- เล่มที่ ๒๗-๙ หน้า ๔๒๕ – ๔๗๗
- เล่มที่ ๒๗-๑๐ หน้า ๔๗๘ – ๕๓๐
- เล่มที่ ๒๗-๑๑ หน้า ๕๓๑ – ๕๘๓
- เล่มที่ ๒๗-๑๒ หน้า ๕๘๔ – ๖๓๖
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ สุตตันตปิฎกที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๒๘-๑ หน้า ๑ – ๖๒
- เล่มที่ ๒๘-๒ หน้า ๖๓ – ๑๒๔
- เล่มที่ ๒๘-๓ หน้า ๑๒๕ – ๑๘๖
- เล่มที่ ๒๘-๔ หน้า ๑๘๗ – ๒๔๘
- เล่มที่ ๒๘-๕ หน้า ๒๔๙ – ๓๑๐
- เล่มที่ ๒๘-๖ หน้า ๓๑๑ – ๓๗๓
- เล่มที่ ๒๘-๗ หน้า ๓๗๔ – ๔๓๕
- เล่มที่ ๒๘-๘ หน้า ๔๓๖ – ๔๙๗
- เล่มที่ ๒๘-๙ หน้า ๔๙๘ – ๕๖๐
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ สุตตันตปิฎกที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๒๙-๑ หน้า ๑ – ๕๒
- เล่มที่ ๒๙-๒ หน้า ๕๓ – ๑๐๔
- เล่มที่ ๒๙-๓ หน้า ๑๐๕ – ๑๕๕
- เล่มที่ ๒๙-๔ หน้า ๑๕๖ – ๒๐๗
- เล่มที่ ๒๙-๕ หน้า ๒๐๘ – ๒๕๙
- เล่มที่ ๒๙-๖ หน้า ๒๖๐ – ๓๑๐
- เล่มที่ ๒๙-๗ หน้า ๓๑๑ – ๓๖๒
- เล่มที่ ๒๙-๘ หน้า ๓๖๓ – ๔๑๔
- เล่มที่ ๒๙-๙ หน้า ๔๑๕ – ๔๖๕
- เล่มที่ ๒๙-๑๐ หน้า ๔๖๖ – ๕๑๗
- เล่มที่ ๒๙-๑๑ หน้า ๕๑๘ – ๕๖๙
- เล่มที่ ๒๙-๑๒ หน้า ๕๗๐ – ๖๒๐
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๓๐-๑ หน้า ๑ – ๕๖
- เล่มที่ ๓๐-๒ หน้า ๕๗ – ๑๑๒
- เล่มที่ ๓๐-๓ หน้า ๑๑๓ – ๑๖๗
- เล่มที่ ๓๐-๔ หน้า ๑๖๘ – ๒๒๓
- เล่มที่ ๓๐-๕ หน้า ๒๒๔ – ๒๗๙
- เล่มที่ ๓๐-๖ หน้า ๒๘๐ – ๓๓๔
- เล่มที่ ๓๐-๗ หน้า ๓๓๕ – ๓๙๐
- เล่มที่ ๓๐-๘ หน้า ๓๙๑ – ๔๔๖
- เล่มที่ ๓๐-๙ หน้า ๔๔๗ – ๕๐๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๓๑-๑ หน้า ๑ – ๕๑
- เล่มที่ ๓๑-๒ หน้า ๕๒ – ๑๐๒
- เล่มที่ ๓๑-๓ หน้า ๑๐๓ – ๑๕๒
- เล่มที่ ๓๑-๔ หน้า ๑๕๓ – ๒๐๓
- เล่มที่ ๓๑-๕ หน้า ๒๐๔ – ๒๕๔
- เล่มที่ ๓๑-๖ หน้า ๒๕๕ – ๓๐๔
- เล่มที่ ๓๑-๗ หน้า ๓๐๕ – ๓๕๕
- เล่มที่ ๓๑-๘ หน้า ๓๕๖ – ๔๐๖
- เล่มที่ ๓๑-๙ หน้า ๔๐๗ – ๔๕๗
- เล่มที่ ๓๑-๑๐ หน้า ๔๕๘ – ๕๐๘
- เล่มที่ ๓๑-๑๑ หน้า ๕๐๙ – ๕๕๙
- เล่มที่ ๓๑-๑๒ หน้า ๕๖๐ – ๖๑๐
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ สุตตันตปิฎกที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๓๒-๑ หน้า ๑ – ๕๙
- เล่มที่ ๓๒-๒ หน้า ๖๐ – ๑๑๘
- เล่มที่ ๓๒-๓ หน้า ๑๑๙ – ๑๗๖
- เล่มที่ ๓๒-๔ หน้า ๑๗๗ – ๒๓๕
- เล่มที่ ๓๒-๕ หน้า ๒๓๖ – ๒๙๔
- เล่มที่ ๓๒-๖ หน้า ๒๙๕ – ๓๕๒
- เล่มที่ ๓๒-๗ หน้า ๓๕๓ – ๔๑๑
- เล่มที่ ๓๒-๘ หน้า ๔๑๒ – ๔๗๐
- เล่มที่ ๓๒-๙ หน้า ๔๗๑ – ๕๒๘
- เล่มที่ ๓๒-๑๐ หน้า ๕๒๙ – ๕๘๗
- เล่มที่ ๓๒-๑๑ หน้า ๕๘๘ – ๖๔๖
- เล่มที่ ๓๒-๑๒ หน้า ๖๔๗ – ๗๐๔
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๓๓-๑ หน้า ๑ – ๖๕
- เล่มที่ ๓๓-๒ หน้า ๖๖ – ๑๓๐
- เล่มที่ ๓๓-๓ หน้า ๑๓๑ – ๑๙๔
- เล่มที่ ๓๓-๔ หน้า ๑๙๕ – ๒๕๙
- เล่มที่ ๓๓-๕ หน้า ๒๖๐ – ๓๒๔
- เล่มที่ ๓๓-๖ หน้า ๓๒๕ – ๓๘๘
- เล่มที่ ๓๓-๗ หน้า ๓๘๙ – ๔๕๓
- เล่มที่ ๓๓-๘ หน้า ๔๕๔ – ๕๑๘
- เล่มที่ ๓๓-๙ หน้า ๕๑๙ – ๕๘๓
- เล่มที่ ๓๓-๑๐ หน้า ๕๘๔ – ๖๔๘
- เล่มที่ ๓๓-๑๑ หน้า ๖๔๙ – ๗๑๓
- เล่มที่ ๓๓-๑๒ หน้า ๗๑๔ – ๗๗๘
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๑ ธัมมสังคนี [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๓๔-๑ หน้า ๑ – ๔๓
- เล่มที่ ๓๔-๒ หน้า ๔๔ – ๘๖
- เล่มที่ ๓๔-๓ หน้า ๘๗ – ๑๒๙
- เล่มที่ ๓๔-๔ หน้า ๑๓๐ – ๑๗๒
- เล่มที่ ๓๔-๕ หน้า ๑๗๓ – ๒๑๕
- เล่มที่ ๓๔-๖ หน้า ๒๑๖ – ๒๕๘
- เล่มที่ ๓๔-๗ หน้า ๒๕๙ – ๓๐๑
- เล่มที่ ๓๔-๘ หน้า ๓๐๒ – ๓๔๔
- เล่มที่ ๓๔-๙ หน้า ๓๔๕ – ๓๘๘
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๓๕-๑ หน้า ๑ – ๕๗
- เล่มที่ ๓๕-๒ หน้า ๕๘ – ๑๑๔
- เล่มที่ ๓๕-๓ หน้า ๑๑๕ – ๑๗๒
- เล่มที่ ๓๕-๔ หน้า ๑๗๓ – ๒๒๙
- เล่มที่ ๓๕-๕ หน้า ๒๓๐ – ๒๘๖
- เล่มที่ ๓๕-๖ หน้า ๒๘๗ – ๓๔๔
- เล่มที่ ๓๕-๗ หน้า ๓๔๕ – ๔๐๒
- เล่มที่ ๓๕-๘ หน้า ๔๐๓ – ๔๖๐
- เล่มที่ ๓๕-๙ หน้า ๔๖๑ – ๕๑๗
- เล่มที่ ๓๕-๑๐ หน้า ๕๑๘ – ๕๗๕
- เล่มที่ ๓๕-๑๑ หน้า ๕๗๖ – ๖๓๓
- เล่มที่ ๓๕-๑๒ หน้า ๖๓๔ – ๖๙๐
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๓ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๓๖-๑ หน้า ๑ – ๓๙
- เล่มที่ ๓๖-๒ หน้า ๔๐ – ๗๘
- เล่มที่ ๓๖-๓ หน้า ๗๙ – ๑๑๖
- เล่มที่ ๓๖-๔ หน้า ๑๑๗ – ๑๕๕
- เล่มที่ ๓๖-๕ หน้า ๑๕๖ – ๑๙๔
- เล่มที่ ๓๖-๖ หน้า ๑๙๕ – ๒๓๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๓๗-๑ หน้า ๑ – ๖๓
- เล่มที่ ๓๗-๒ หน้า ๖๔ – ๑๒๖
- เล่มที่ ๓๗-๓ หน้า ๑๒๗ – ๑๘๙
- เล่มที่ ๓๗-๔ หน้า ๑๙๐ – ๒๕๒
- เล่มที่ ๓๗-๕ หน้า ๒๕๓ – ๓๑๕
- เล่มที่ ๓๗-๖ หน้า ๓๑๖ – ๓๗๘
- เล่มที่ ๓๗-๗ หน้า ๓๗๙ – ๔๔๑
- เล่มที่ ๓๗-๘ หน้า ๔๔๒ – ๕๐๔
- เล่มที่ ๓๗-๙ หน้า ๕๐๕ – ๕๖๗
- เล่มที่ ๓๗-๑๐ หน้า ๕๖๘ – ๖๓๐
- เล่มที่ ๓๗-๑๑ หน้า ๖๓๑ – ๖๙๓
- เล่มที่ ๓๗-๑๒ หน้า ๖๙๔ – ๗๕๖
- เล่มที่ ๓๗-๑๓ หน้า ๗๕๗ – ๘๑๙
- เล่มที่ ๓๗-๑๔ หน้า ๘๒๐ – ๘๘๒
- เล่มที่ ๓๗-๑๕ หน้า ๘๘๓ – ๙๔๖
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๘ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๕ ยมก ภาค ๑ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๓๘-๑ หน้า ๑ – ๕๗
- เล่มที่ ๓๘-๒ หน้า ๕๘ – ๑๑๔
- เล่มที่ ๓๘-๓ หน้า ๑๑๕ – ๑๗๐
- เล่มที่ ๓๘-๔ หน้า ๑๗๑ – ๒๒๗
- เล่มที่ ๓๘-๕ หน้า ๒๒๘ – ๒๘๔
- เล่มที่ ๓๘-๖ หน้า ๒๘๕ – ๓๔๑
- เล่มที่ ๓๘-๗ หน้า ๓๔๒ – ๓๙๘
- เล่มที่ ๓๘-๘ หน้า ๓๙๙ – ๔๕๕
- เล่มที่ ๓๘-๙ หน้า ๔๕๖ – ๕๑๒
- เล่มที่ ๓๘-๑๐ หน้า ๕๑๓ – ๕๖๙
- เล่มที่ ๓๘-๑๑ หน้า ๕๗๐ – ๖๒๖
- เล่มที่ ๓๘-๑๒ หน้า ๖๒๗ – ๖๘๓
- เล่มที่ ๓๘-๑๓ หน้า ๖๘๔ – ๗๔๐
- เล่มที่ ๓๘-๑๔ หน้า ๗๔๑ – ๗๙๗
- เล่มที่ ๓๘-๑๕ หน้า ๗๙๘ – ๘๕๔
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๙ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๖ ยมก ภาค ๒ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๓๙-๑ หน้า ๑ – ๕๔
- เล่มที่ ๓๙-๒ หน้า ๕๕ – ๑๐๘
- เล่มที่ ๓๙-๓ หน้า ๑๐๙ – ๑๖๒
- เล่มที่ ๓๙-๔ หน้า ๑๖๓ – ๒๑๖
- เล่มที่ ๓๙-๕ หน้า ๒๑๗ – ๒๗๐
- เล่มที่ ๓๙-๖ หน้า ๒๗๑ – ๓๒๔
- เล่มที่ ๓๙-๗ หน้า ๓๒๕ – ๓๗๘
- เล่มที่ ๓๙-๘ หน้า ๓๗๙ – ๔๓๒
- เล่มที่ ๓๙-๙ หน้า ๔๓๓ – ๔๘๖
- เล่มที่ ๓๙-๑๐ หน้า ๔๘๗ – ๕๔๐
- เล่มที่ ๓๙-๑๑ หน้า ๕๔๑ – ๕๙๔
- เล่มที่ ๓๙-๑๒ หน้า ๕๙๕ – ๖๔๙
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๗ ปัฏฐาน ภาค ๑ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๔๐-๑ หน้า ๑ – ๖๐
- เล่มที่ ๔๐-๒ หน้า ๖๑ – ๑๒๐
- เล่มที่ ๔๐-๓ หน้า ๑๒๑ – ๑๘๑
- เล่มที่ ๔๐-๔ หน้า ๑๘๒ – ๒๔๑
- เล่มที่ ๔๐-๕ หน้า ๒๔๒ – ๓๐๑
- เล่มที่ ๔๐-๖ หน้า ๓๐๒ – ๓๖๒
- เล่มที่ ๔๐-๗ หน้า ๓๖๓ – ๔๒๓
- เล่มที่ ๔๐-๘ หน้า ๔๒๔ – ๔๘๔
- เล่มที่ ๔๐-๙ หน้า ๔๘๕ – ๕๔๔
- เล่มที่ ๔๐-๑๐ หน้า ๕๔๕ – ๖๐๕
- เล่มที่ ๔๐-๑๑ หน้า ๖๐๖ – ๖๖๖
- เล่มที่ ๔๐-๑๒ หน้า ๖๖๗ – ๗๒๖
- เล่มที่ ๔๐-๑๓ หน้า ๗๒๗ – ๗๘๗
- เล่มที่ ๔๐-๑๔ หน้า ๗๘๘ – ๘๔๘
- เล่มที่ ๔๐-๑๕ หน้า ๘๔๙ – ๙๐๘
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๘ ปัฏฐาน ภาค ๒ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๔๑-๑ หน้า ๑ – ๕๖
- เล่มที่ ๔๑-๒ หน้า ๕๗ – ๑๑๒
- เล่มที่ ๔๑-๓ หน้า ๑๑๓ – ๑๖๗
- เล่มที่ ๔๑-๔ หน้า ๑๖๘ – ๒๒๓
- เล่มที่ ๔๑-๕ หน้า ๒๒๔ – ๒๗๙
- เล่มที่ ๔๑-๖ หน้า ๒๘๐ – ๓๓๔
- เล่มที่ ๔๑-๗ หน้า ๓๓๕ – ๓๙๐
- เล่มที่ ๔๑-๘ หน้า ๓๙๑ – ๔๔๖
- เล่มที่ ๔๑-๙ หน้า ๔๔๗ – ๕๐๑
- เล่มที่ ๔๑-๑๐ หน้า ๕๐๒ – ๕๕๗
- เล่มที่ ๔๑-๑๑ หน้า ๕๕๘ – ๖๑๓
- เล่มที่ ๔๑-๑๒ หน้า ๖๑๔ – ๖๖๘
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๙ ปัฏฐาน ภาค ๓ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๔๒-๑ หน้า ๑ – ๕๓
- เล่มที่ ๔๒-๒ หน้า ๕๔ – ๑๐๖
- เล่มที่ ๔๒-๓ หน้า ๑๐๗ – ๑๖๐
- เล่มที่ ๔๒-๔ หน้า ๑๖๑ – ๒๑๔
- เล่มที่ ๔๒-๕ หน้า ๒๑๕ – ๒๖๘
- เล่มที่ ๔๒-๖ หน้า ๒๖๙ – ๓๒๑
- เล่มที่ ๔๒-๗ หน้า ๓๒๒ – ๓๗๕
- เล่มที่ ๔๒-๘ หน้า ๓๗๖ – ๔๒๙
- เล่มที่ ๔๒-๙ หน้า ๔๓๐ – ๔๘๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ อภิธรรมปิฎกที่ ๑๐ ปัฏฐาน ภาค ๔ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๔๓-๑ หน้า ๑ – ๕๔
- เล่มที่ ๔๓-๒ หน้า ๕๕ – ๑๐๘
- เล่มที่ ๔๓-๓ หน้า ๑๐๙ – ๑๖๑
- เล่มที่ ๔๓-๔ หน้า ๑๖๒ – ๒๑๕
- เล่มที่ ๔๓-๕ หน้า ๒๑๖ – ๒๖๙
- เล่มที่ ๔๓-๖ หน้า ๒๗๐ – ๓๒๓
- เล่มที่ ๔๓-๗ หน้า ๓๒๔ – ๓๗๗
- เล่มที่ ๔๓-๘ หน้า ๓๗๘ – ๔๓๑
- เล่มที่ ๔๓-๙ หน้า ๔๓๒ – ๔๘๕
- เล่มที่ ๔๓-๑๐ หน้า ๔๘๖ – ๕๓๙
- เล่มที่ ๔๓-๑๑ หน้า ๕๔๐ – ๕๙๓
- เล่มที่ ๔๓-๑๒ หน้า ๕๙๔ – ๖๔๗
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๔ อภิธรรมปิฎกที่ ๑๑ ปัฏฐาน ภาค ๕ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๔๔-๑ หน้า ๑ – ๕๖
- เล่มที่ ๔๔-๒ หน้า ๕๗ – ๑๑๒
- เล่มที่ ๔๔-๓ หน้า ๑๑๓ – ๑๖๘
- เล่มที่ ๔๔-๔ หน้า ๑๖๙ – ๒๒๔
- เล่มที่ ๔๔-๕ หน้า ๒๒๕ – ๒๘๐
- เล่มที่ ๔๔-๖ หน้า ๒๘๑ – ๓๓๖
- เล่มที่ ๔๔-๗ หน้า ๓๓๗ – ๓๙๒
- เล่มที่ ๔๔-๘ หน้า ๓๙๓ – ๔๔๘
- เล่มที่ ๔๔-๙ หน้า ๔๔๙ – ๕๐๔
- เล่มที่ ๔๔-๑๐ หน้า ๕๐๕ – ๕๖๐
- เล่มที่ ๔๔-๑๑ หน้า ๕๖๑ – ๖๑๖
- เล่มที่ ๔๔-๑๒ หน้า ๖๑๗ – ๖๗๒
- เล่มที่ ๔๔-๑๓ หน้า ๖๗๓ – ๗๒๘
- เล่มที่ ๔๔-๑๔ หน้า ๗๒๙ – ๗๘๔
- เล่มที่ ๔๔-๑๕ หน้า ๗๘๕ – ๘๔๐
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๑๒ ปัฏฐาน ภาค ๖ [กลับด้านบน]
- เล่มที่ ๔๕-๑ หน้า ๑ – ๖๑
- เล่มที่ ๔๕-๒ หน้า ๖๒ – ๑๒๒
- เล่มที่ ๔๕-๓ หน้า ๑๒๓ – ๑๘๒
- เล่มที่ ๔๕-๔ หน้า ๑๘๓ – ๒๔๓
- เล่มที่ ๔๕-๕ หน้า ๒๔๔ – ๓๐๔
- เล่มที่ ๔๕-๖ หน้า ๓๐๕ – ๓๖๕
- เล่มที่ ๔๕-๗ หน้า ๓๖๖ – ๔๒๖
- เล่มที่ ๔๕-๘ หน้า ๔๒๗ – ๔๘๗
- เล่มที่ ๔๕-๙ หน้า ๔๘๘ – ๕๔๘
- เล่มที่ ๔๕-๑๐ หน้า ๕๔๙ – ๖๐๙
- เล่มที่ ๔๕-๑๑ หน้า ๖๑๐ – ๖๗๐
- เล่มที่ ๔๕-๑๒ หน้า ๖๗๑ – ๗๓๑